วันพุธที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559


การวัดความต่างศักย์ไฟฟ้าในเพาเวอร์ซัพพลาย


          สวัสดีคะ กับมาพบกันอีกแล้วนะคะ สำหรับวันนี้นะคะ เราก็จะมาบอกเล่าประสบการณ์ดีๆ เกี่ยวกับเรื่องไอที เหมือนเช่นเคย วันนี้เราก็จะมาทำการตรวจวัดความต่างศักย์ไฟฟ้าในเพาเวอร์ซัพพลายกันนะคะ ไปเริ่มกันเล๊ยยยยยยยยยยยยยยยยยยยย......................

          

เพาเวอร์ซัพพลายมีหน้าที่
          เป็นอุปกรณ์หลักที่คอยจ่ายไฟให้กับชิ้นส่วนและอุปกรณ์ต่างๆ ทั้งหมดภายในเครื่อง มีรูปร่างเป็นกล่องสี่เหลี่ยมติดอยู่ภายในตัวเคส (สามารถถอดเปลี่ยนได้) ทำหน้าที่แปลงแรงดันไฟฟ้ากระแสสลับ (AC) ตามบ้านจาก 220 โวลต์ให้เหลือเพียงแรงดันไฟฟ้ากระแสตรง (DC) 3 ชุด 3.3 และ 5 โวลต์ เพื่อจ่ายไฟให้กับวงจีชิ้นส่วนอุปกรณ์ต่างๆ และ 12 โวลต์ เพื่อจ่ายไฟให้กับมอเนตอ์ของอุปกรณ์ดิสก์ไดรว์ต่างๆ รวมถึงพัดลมระบายอากาศด้วย

อุปกรณ์ที่ใช้ในการวัด
          1. เพาเวอร์ซัพพลาย
          2. มัลติมิเตอร์
          3. ลวด



อุปกรณ์ของเราพร้อมแล้วนะคะ ลุยยยยยยยยยยยยยยยยยยยย.............................................

                1. ถอดเพาเวอร์ซัพพลายออกจากตัวเครื่อง เพื่อที่จะให้สะดวกต่อการวัดค่าไฟฟ้า



                 2. ใช้ลวดเสียบเข้าไปที่พินที่ 14 กับ 15 หรือสีเขียวกับสีดำ แล้วให้สายวัดมัลติมิเตอร์ขั้วลบหรือสายสีดำเสียบลงไปในช่องน็อตของเพาเวอร์ซัพพลาย เพื่อความสะดวกในการจับสายสีแดงอีกสายและง่ายต่อการวัด
                                            



                  3. เสียบปลั๊กแล้วนำสายสีแดงมาวัดค่าความต่างศักย์ไฟฟ้า โดยใช้ปลายของสายสีแดงเสียบเข้ากับพินที่เราต้องการทราบค่าไฟฟ้าได้ ดังภาพคะ





                            เรามาเปรียบเทียบค่าที่วัดได้กับค่ามาตราฐานดูนะคะ ได้ค่าดังภาพนี้เลยคะ


         เป็นไงบ้างคะเพื่อนๆ เห็นแล้วใช่ไหมว่าการวัดความต่างศักย์ไฟฟ้าในเพาเวอร์ซัพพลายสามารถทำได้ง่ายมาก สำหรับวันนี้นะคะ เราก็ขอจบการรีวิวการวัดความต่างศักย์ไฟฟ้า ครั้งหน้าจะเป็นอะไรนั้น ฝากเพื่อนๆ อย่าลืมติดตามนะคะ เรามีเรื่องดีๆ ของไอทีมาฝากเป็นประจำ สำหรับวันนี้ ผิดพลาดประการใดขออภัยด้วยนะคะ ขอบคุณและสวัสดีคะ  by..sumitra

วันพุธที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

รีวิวการเปิด/ปิดคอมพิวเตอร์จาก Mainboard


                                            การเปิด/ปิดคอมพิวเตอร์จาก Mainboard

          กลับมาพบการอีกครั้งนะคะ สำหรับบล๊อกที่ 4 ของเรา หลังจากสัปดาห์ที่แล้วเราได้รีวิวการเปลี่ยน Power Supply กันไปเป็นที่เรียบร้อยแล้วนะคะ ซึ่งผลที่ได้ปรากฎว่า ประสบผลสำเร็จเป็นอย่างยิ่งและสัปดาห์นี้เราจะมาทด
ลองทำการเปิด/ปิดคอมพิวเตอร์จาก Mainboard กันดูนะคะ กรณีที่เราจะทำการ เปิด/ปิดคอมพิวเตอร์จาก Mainboard ได้ เช่น เราไปซื้ออุปกรณ์ของเครื่องคอมพิวเตอร์มาประกอบใช้เองหากเราต้องการทดลองเครื่องว่าใช้ได้หรือไม่ก็สามารถทำได้เช่นกัน หรืออีกกรณีที่สวิตซ์เปิด/ปิด เครื่องคอมพิวเตอร์ของเราเสีย เราก็สามารถแก้ไขปัญหาด้วยวิธีการเปิด/ปิดคอมพิวเตอร์จาก Mainboard ได้เช่นกันคะ

                   วิธีการเปิด/ปิดคอมพิวเตอร์จาก Mainboard สามารถทำได้ดังนี้
                ขั้นตอนแรกนะคะ เราก็จะประกอบอุปกรณ์เครื่องคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกัน รวมทั้งต่อสายต่างๆให้ครบเหมือนกับที่อยู่ในเคสเลยนะคะ

              หลังจากต่ออุปกรณ์เสร็จเรียบร้อยนะคะ เราก็ไปดูคู่มือของเมนบอร์ดที่ (Datasheet) รุ่นของเราเลยนะคะ
  สำหรับการเปิด/ปิด รีเซตเครื่องมีวิธีการดังนี้

                1.  การเปิดเครื่องใช้ตัวนำไฟฟ้า เช่น ไขควงหรือแหนบจิ้มค้างไว้พินที่ 4 กับ 5 ซึ่งเป็นพิน Power Switch สักพักเครื่องก็จะเปิดทันทีคะ และสังเกตง่ายๆนะคะ จะมีไฟสีเขียวๆอยู่ข้างๆ โชว์ขึ้น

                   2.  การปิดเครื่องใช้ตัวนำไฟฟ้า เช่น ไขควงหรือแหนบจิ้มค้างไว้ พินที่ 4 กับ 5 ซึ่งเป็นพิน

         Power Switch สักพักเครื่องก็จะปิดและพัดลมก็จะหยุดทำงานทันทีคะ


                3. การรีเซตเครื่องสามารถทำได้โดยใช้ไขควงแหนบจิ้มที่พิน 1 กับ 2 สักพักเครื่องคอมพิวเตอร์ก็จะทำการ Reset Switch ทันทีคะ



          และนี่ก็เป็นวิธีการเปิด/ปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ง่ายสุดๆวิธีหนึ่งเลยนะคะ ไม่ยากเลยใช่ไหมคะ แค่เรามี (Datasheet) รุ่นของเรา เราก็สามารถทำได้อย่างถูกต้องแบบไม่ต้องกลัวอะไรอีกต่อไป วันนี้ดิฉันก็ขอจบการรีวิวเพียงเท่านี้ก่อนนะคะ แล้วสัปดาห์หน้าจะมีเทคนิคหรือวิธีอะไรมาให้เพื่อนๆดู รอติดตามสัปดาห์หน้านะคะ ส่วนสัปดาห์นี้ผิดพลาดประการได ต้องขออภัยมา ณ โอกาสนี้ ขอบคุณคะ

วันอาทิตย์ที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559


Review  Power Supply

          สวัสดีคะ กลับมาพบกันอีกแล้วนะคะ กลับการทำบล็อกครั้งที่ 3 ของเรานะคะ สำหรับวันนี้ เราจะมารีวิวการเปลี่ยน Power Supply จาก PC เครื่องหนึ่ง ไปยัง PC ยังเครื่องหนึ่งกันคะ ก่อนอื่นนะคะ ทำมาทำความรู้จักกัน Power Supply กันก่อนดีกว่า ว่าคืออะไร

Power Supply
          เป็นอุปกรณ์หลักที่คอยจ่ายไฟให้กับชิ้นส่วนและอุปกรณ์ต่างๆทั้งหมดภายในเครื่อง มีรูปร่างเป็นกล่องสี่เหลี่ยมติดตั้งอยู่ภายในตัวเคส (สามารถถอดเปลี่ยนได้) ทำหน้าที่แปลงแรงดันไฟฟ้ากระแสสลับ (AC) ตามบ้านจาก 220 โวลต์ให้เหลือเพียงแรงดันไฟฟ้ากระแสตรง (DC) 3 ชุดคือ 3.3 และ 5 โวลต์ เพื่อจ่ายไฟให้กับวงจรชิ้นส่วนอุปกรณ์ต่างๆ และ 12 โวลต์ เพื่อจ่ายไฟให้กับมอเตอร์ของอุปกรณ์ดิสก์ไดรว์ต่างๆรวมถึงพัดลมระบายอากาศด้วย


          เรามาถอด Power Supply ออกกันเลยดีกว่าคะ




และนี่แหละคะ คือ Power Supply ที่เราจะใช้ทดลองเปลี่ยนในวันนี้


ก่อนที่เราจะลงมือปฏิบัตินะคะ เรามาดูกันก่อนดีกว่าคะ ว่าอุปกรณ์ที่ใช้ในการเปลี่ยน  Power Supply มีอะไรบ้าง


                    ขั้นตอนแรก เราต้องบัดกรีเอาตะกั่วออกนะคะ

บัดกรีเอาตะกั่วออก และใช้กระบอกดูดตะกั่ว ออกพร้อมๆกัน

                       หลังจากที่เราบัดกรีเอาตะกั่วออกเสร็จ เราก็นำพัดลมอีกเครื่องหนึ่งมาเปลี่ยนสลับกัน แล้วนำสายไปทั้งสีดำและสีแดง มาเชื่อมเข้ากับแผงวงจร โดยใช้หัวแร้งและตะกั่วบัดกรีเชื่อมติดกัน

 เมื่อทำการเชื่อมเสร็จแล้ว เราก็นำไปทดสอบว่า พัดลมใช้งานได้หรือไม่ โดนนำวัตถุที่เป็นโลหะ มาเสียบใส่ช่อง ที่ 4 และช่องที่ 5 ซึ่งโลหะในที่นี้ กลุ่มเราเลือกใช้แหนบ

และนี่นะคะ คือผลจากการเปลี่ยน  Power Supply แล้วก็สามารถใช้งานได้ตามปกติอีกด้วยคะ

หลังจากที่เพื่อนดูวิธีการเปลี่ยน Power Supply แล้ว เป็นไงกันบ้างคะ ไม่ยากเลยใช่ไหมเอ๋ย
ว่างๆ เพื่อนๆที่สนใจ ก็ลองทำดูได้เลยนะคะ เพราะมันไม่ยากอย่างที่เราคิด ขอแค่เรากล้าที่จะทำ ความสำเร็จก็อยู่ไม่ไกลเช่นกันคะ สำหรับวันนี้ขอบคุณมากๆนะคะ สำหรับการติดตาม โอกาสหน้าเพื่อนๆ ติดตามดูนะคะ ว่าเราจะมีรีวิวอะไรอีก สำหรับวันนี้ ขอบคุณและสวัสดีคะ ^__^