วันพุธที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2559



การเปลี่ยนรหัสผ่าน/ลืมรหัสผ่านใน  Linux Ubuntu
          สวัสดีคะเพื่อนๆ พวกไอที พบกันอีกแล้วเช่นเคยนะคะ กับเรื่องราวดีๆ เกี่ยวกับไอที วันนี้นะคะ เราจะมารีวิววิธีการเปลี่ยนหรือแก้ไขรหัสผ่านใน Ubuntu ในกรณีที่เราลืมรหัสผ่านนะคะ จะมีขั้นตอนหือวิธีการอย่างไรนั้น มาดูกันเลยคะ

                1. ขั้นตอนแรกเราก็เปิด Virtual Box ขึ้นมา แล้วดับเบิลคลิกเข้า Ubuntu เลยคะ



               2. เลือกที่ Advanced options for Ubuntu แล้วกด enter


จากนั้นให้เลือก recovery mode แล้วกด enter


                 3.  เลือก root แล้วกด enter 

                 4. ในหน้า Terminal ที่ให้เราพิมพ์คำสั่งต่าง ๆ ลงไป # mount -o,remount /


 จากนั้นพิมพ์คำสั่ง  ~# ls /home ตามลงไป เพื่อตรวจสอบชื่อผู้ใช้ในระบบของเรา

                  5.  พิมพ์ passwd ubuntu แล้วกด Enter 



                6. จากนั้นข้อความ "Enter new UNIX password: "  ก็จะขึ้นมา เพื่อให้เราตั้งรหัสผ่านเข้าใช้งานใหม่ ก็ให้เรากำหนดรหัสผ่านใหม่ได้เลย เสร็จแล้วกด enter


                7.  หลังจากกำหนดรหัสผ่านเสร็จ ก็ให้พิมพ์คำสั่ง "exit" ได้เลย


                8. หลังจากนั้นให้เลือก  resume แล้วกด Enter


แล้วกด ok



                9. ขั้นสุดท้ายให้กรอก Username กับ Password  เพื่อเข้าสู่ระบบ

                
                    สำหรับการรีวิว การเปลี่ยนหรือแก้ไขรหัสผ่าน ก็ไม่ยากเลยใช่ไหมคะ เพื่อนๆคนไหนที่ลืมรหัสผ่าน ก็ลองเอาเทคนิคนี้ ไปใช่ดูนะคะ วันนี้ก็ขอจบเพียงแค่นี้นะ หากมีข้อผิดพลาดประการใด ขออภัยมานะที่นะคะ ขอบคุณคะ.... 




วันพฤหัสบดีที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2559


     เรื่อง การติดตั้ง Ubuntu Server ใน Virtual Box 

วิธีลง UBUNTU 15.04 แบบละเอียด ว่าเค้าติดตั้งกันยังไง


             สวัสดีคะวันนี้เราจะมาบอกวิธีการติดตั้ง  Ubuntu Server ใน Virtual Box มีขั้นตอนดังต่อไปนี้ ไปดูกันเล๊ยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยย…………………..


          Ubuntu เป็นระบบปฏิบัติการแบบ Open Source ที่ให้โหลดมาใช้งานแบบฟรีๆ เป็น Linux Distro หนึงที่เป็นที่นิยมมากในปัจจุบัน ในบทความนิดิฉันจะมาแนะนำวิธีติดตั้ง Ubuntu 15.04  เรามาดูวีธิการติดตั้งกันก่อนดีกว่าค่ะ ก่อนติดตั้งหากใครแบ่งพาทิชั่นไม่เป็น คลิกอ่านก่อนนะ8คะ

วิธีติดตั้ง Ubuntu 15.04
           1. เอาหละค่ะเรามาเริ่มการติดตั้งกันเลยคะ ก่อนอื่นก็ต้องบูทเข้าแผ่นติดตั้งก่อนนะค่ะ จะบูทผ่าน CD/DVD หรือ USB ก็แล้วแต่ตามที่ถนัด เมื่อบูทเข้ามาหน้า Desktop Ubuntu แล้วก็จะเป็นหน้าตาแบบนี้ค่ะ ดังภาพข้างล่างเลยคะ(สามารถคลิกที่ภาพขยายดูได้นะคะ) หน้านี้สามารถลองเล่นดูก่อนติดตั้งได้คะ ถ้าพร้อมแล้วก็คลิกที่ Install Ubuntu 15.04 เลยค่ะ



          2. หลังจากคลิกแล้วก็จะมีหน้าต่างติดตั้ง Ubuntu 15.04 ขึ้นมาดังภาพด้านล่างคะ ให้เลือกภาษาตามที่ต้องการเลย ส่วนตัวดิฉันเลือก ภาษาไทย  เมื่อเลือกแล้วก็คลิกที่ปุ่ม ดำเนินการ ต่อไปได้เลยคะ
         3. จากนั้นระบบก็จะเช็คความต้องการพื้นฐานก่อนติดตั้งคะ เพื่อเตรียมการติดตั้ง Ubuntu อย่างในภาพก็จะบอกว่า มีพื้นที่ว่างดิสก์เหลืออยู่ 6.6 GB ซึ่งฉันเตรียมไว้โดยการแบ่งพื้นที่ HDD มาเพื่อจะติดตั้งโดยเฉพาะค่ะ และจะเช็คการเชื่อต่ออินเตอร์เน็ต เพื่ออัพเดทแพ็คเก็จ ซึ่งส่วนนี้ไม่ต้องต่อก็ได้คะ และเราสามรถไปอัพเดททีหลังได้
  - สามารถคลิกที่ ดาวน์โหลดส่วนปรับปรุงขณะทำการติดตั้ง ได้หากต้องต้องอัพเดทโปรแกรมใหม่ๆระหว่างติดตั้ง ดิฉันไม่คลิกเพราะมันจะช้า เอาไว้ไปอัพเดททีหลังจะดีกว่าค่ะ
 - สามารถคลิกที่ ติดตั้งซอฟต์แวร์นี้ ได้ ส่วนนี้จะเกี่ยวกับพวกมัลติมิเดียค่ะ แนะนำให้คลิดไว้เลยค่ะ
เมื่อเราเช็คส่วนต่างๆแล้วก็คลิกที่ปุ่ม ดำเนินการต่อ ได้เลยคะ


         
4. จากนั้นก็จะมาหน้านี้คะ จะเป็นแบบการติดตั้ง ปกติถ้ามีระบบ Windows หรือ Linux ตัวอื่นอยู่มันจะถามว่าจะติดตั้งคู่กันมั้ย หรืออีกแบบอาจจะเป็นลบระบบเดิมแล้วติดตั้ง Ubuntu 15.04 ลงไปคะ อันนี้จะเป็น HDD เปล่าที่ดิฉันจำลองมาเลยไม่มีให้เห็น ดิฉันแนะนำเลยถ้ามีหลายระบบ ให้แบ่งไดร์ฟไว้ 1 ไดร์ฟเปล่านะค่ะเอาไว้ติดตั้งโดยเฉพาะ ซึ่งดิฉันจะมาพูดถึงการจัดการพาทิชั่นในข้อถัดไปคะ ให้เลือก อื่นๆ ตามภาพนะคะ และ ดำเนินการต่อเลยค่ะ
       
           5. เมื่อเราเข้ามาหน้านี้ก็จะเจอไดร์ฟของเรา ซึ่งผมใช้วิธีจำลองการติดตั้งนะคะถึงมีไดร์ฟเดียว แต่ดิฉันจะอธิบายให้ผู้อ่านเข้าใจที่สุดในการแบ่งคะ
         - ปกติเรามีไดร์ฟ C ที่ติดตั้ง Windows ไว้อยู่แล้ว สำหรับคนที่ใช้ Windows มาก่อนแล้วอยากติดตั้ง Ubuntu ให้จำขนาดไดร์ฟไว้นะคะว่าขนาดเท่าไหร่ ไดร์ฟนี้เราไม่ทำอะไรกับมัน
         - ปกติไดร์ฟเก็บข้อมูลจะเป็น ไดร์ฟ D เราจะไม่ยุ่งกับมันอีกเหมือนกัน หรือถ้าใครไม่เสียดายข้อมูลก็ใช้ไดร์ฟนี้เลยก็ได้คะ
         ****ฉะนั้นก่อนจะเข้ามาติดตั้ง Ubuntu ให้ทำการแบ่งไดร์ฟมาก่อนจากระบบที่คุณใช้นะคะ อาจจะสร้างไดร์ฟใหม่ชื่อไดร์ฟ E เปล่าๆไว้เลยก็ได้ แต่อย่าตั้งขนาดไดร์ฟเท่ากับไดร์ฟอื่นนะค่ะ เดี๋ยวสับสน 
        ****เมื่อคุณได้ไดร์ฟที่ต้องการให้เลือกไดร์ฟนั้นแล้ว บูทเข้ามาทำการติดตั้งตามข้อ 1-5 แล้วคลิกที่เครื่องหมาย - เพื่อลบไดร์ฟนั้นให้เป็นพื้นที่ว่างก่อนครับไปข้อ 6 ได้เลยคะ



     
  6. เมื่อคุณได้พื้นที่ว่างแล้ว ให้เลือกพื้นที่ว่างนั้นแล้วคลิกที่ เครื่องหมาย + เพื่อสร้างพาทิชั่น 
              - ไดร์ฟนี้จะเป็น swap(พื้นที่สลับ) เอาไว้ใช้ตอนแรมไม่พอ แนะนำให้ตั้งขนาด แรมคูณสองค่ะแล้วกด ok ค่ะ


        7. ก็จะได้ไดร์ฟที่เป็นพื้นที่สลับ(swap) มาเรียบร้อยคะ จากนั้นให้เลือกพื้นที่ว่างที่ยังเหลือคลิกที่เครื่องหมาย +เพื่อสร้างพาทิชั่นอีกครั้งค่ะ 


          8. ในพาทิชั่นนี้เราจะสร้างไดร์ฟ ext4  ไดร์ฟนี้จะเป็นไดร์ฟสำหรับติดตั้งระบบและเก็บข้อมูลเลยคะ อย่าลืมใส่ตำแหน่งเมาท์  /  ด้วยนะคะ  ขนาดที่ดิฉันแนะนำ 20 GB ขึ้นไปคะ กด ok เพื่อสร้างเลยค่ะ

    

           9.  จะได้ไดร์ฟใหม่มาอีกไดร์ฟคะ ext4 สรุปแล้วได้ดังนี้
               - swap ไดร์ฟพื้นที่สลับเอาไว้ใช้แทน Ram เวลา Ram ไม่พอขนาด Ram*2
               - ext4 ไดร์ฟสำหรับติดตั้งระบบ ขนาดตามใจชอบแต่แนะนะ 20 GB ขึ้นไปคะ
                              ****เมื่อแบ่งได้ตามที่ดิฉันสรุปมาก็ ติดตั้งได้เลยคะ 



        
10. ในขณะที่มีการติดตั้งระบบปฏิบัติการ จะมีการสอบถามข้อมูลของผู้ใช้ ว่าขณะนี้เราอยู่ี่ไหนเพื่อทำการตั้งเวลาให้ตรงกับสถานที่ที่ท่านอยู่


         
   11. หน้านี้เราก็เลือกผังแป้นพิมพ์ของเรา ผมก็เลือก Thai --> Thai ค่ะ ดำเนินการต่อได้เลยคะ


        
12. หน้านี้ก็จะเป็นการตั้งค่าผู้ใช้ ก็ใส่ชื่อผู้ใช้ รหัสผ่านให้ถ้วน จากนั้นก็ดำเนินการต่อได้เลยคะ

         
13. มันก็จะทำการติดตั้ง เราก็นั่งรอ นอนรอ จะอะไรก็ได้เลยคะ เล่นเน็ตดูหนังฟังเพลงในระหว่างการติดตั้งได้เลยคะ 


       
14. ทำการรีบูทเครื่องเลยคะ


            
เห็นมั้ยคะก็ไม่ยากเลยการติดตั้งระบบ Ubuntu 15.04 ไม่กี่ขั้นตอนก็เสร็จ ก่อนจะติดตั้งเพื่อความแน่ใจให้ศึกษาเรื่องการแบ่งพาทิชั่นก่อนก็ดีคะเพื่อจะไม่ผิดพลาดเวลาแบ่งพาทิชั่น เอาหละดิฉันก็เขียนมาซะยาวเลย ยังไงก็ถ้าผิดพลาดประการใดก็ขอ อภัยมา ณ โอกาสนี้ด้วยนะคะ บทความหน้าจะเป็นอะไรก็อย่าลืมติดตามกันนะคะ สำหรับวันนี้สวัสดีคะ  

          ประกอบคอมพิวเตอร์ 2

           การจัดสเปคคอมพิวเตอร์สำหรับการทำงานทั่วไปและการจัดสเปคคอมพิวเตอร์สำหรับคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการเล่นเกมส์


                หลายคนสนใจเกี่ยวกับเรื่องสเปคคอมว่ารุ่นไหนดีไม่ดียังไง และจะเป็นคำถามยอดฮิตสำหรับหลายๆคน และดูเหมือนกับว่าจะเป็นเรื่องยากทีเดียวสำหรับผู้ที่ไม่ค่อยคลุกคลีในวงการคอมพิวเตอร์ วันนี้เราเลยมาขอแนะนำเพื่อนๆ เกี่ยวกับการจัดสเปคคอม ราคาสบายกระเป๋ากันคะ
             อันดับแรกนะคะเรามาดูที่ CPU กันก่อนคะ

1. CUP เราเลือกเพราะใช้งานแบบทั่วไป ไม่ได้เน้นอะไรมากเกี่ยวกับใช้งาน AMD FX - 6300 ราคา 3,990 บาท


        2. MAINBORAD GIGABYTE GA-970A 2,850 บาท




         3. RAM KINGSTON Hyper-X Fury DDR3 8GB 1600 (4GBx2) Red ราคา 1,350 บาท

           4. HARD DISK WESTERN DIGITAL Blue 1TB WD10EZEX  ราคา 1,690 บาท  




              5. CASE AERO COOL V3X Advance Black Edition ราคา 950 บาท






       6. POWER SUPPY  FSP HEXA 500W  ราคา 1650 บาท




   

    7. VGA CARD GIGABYTE GTX750Ti OC ราคา 2,250 บาท



       ก็เสร็จเรียบร้อยกันไปแล้วนะคะ สำหรับสเปคคอมพิวเตอร์สำหรับช้งานพื้นฐานทั่วไป ซึ่งราคา
รวมทั้งหมดคือ 15,000 บาท
         ต่อมา...ถ้าหากเราต้องการจะอัพเกรดจากสเปคพื้นฐาน ไปเป็นสเปคสำหรับเริ่มเล่นเกมมือใหม่ ในราคาไม่เกิน 21,000 บาท เรามาดูกันเลยล่ะกันว่าจะอัพเกรดหรือเปลี่ยนอุปกรณ์ชิ้นไหนกันบ้าง


สังเกตดูนะคะ เราเปลี่ยนอุปกรณ์เพียงไม่กี่อย่าง แล้วก็มีอุปกรณ์เพิ่มเติมเข้ามาจากเดิม 



  เสร็จเรียบร้อยกันไปแล้วนะคะ สำหรับการอัพเกรดคอมพิวเตอร์เพื่อใช้สำหรับเริ่มเล่นเกม หากผู้จัดทำผิดพลาดประการได ขออภัยด้วยนะคะ ^_^




วันอาทิตย์ที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2559

Review การเลือกซื้อุปกรณ์คอมพิวเตอร์แบบโฮมออฟฟิศ

          สวัสดีคะ กลับมาพบกันอีกแล้วนะคะ เพื่อนเบื่อกันหรือยังเอ่ย วันนี้เราก็มีเรื่องราวดีๆ เกี่ยวกับไอทีมาฝากเช่นเคยนะคะ ซึ่งวันนี้เราก็จะมาทำการรีวิว การเลือกซื้ออุปกรณ์คอมพิวเตอร์แบบโฮมออฟฟิศกันนะคะ ไปดูกันเลย.......................................................................

              นี่นะคะ คือ เว็บไซต์ที่เข้า เพื่อจัดสเปกคอมพิวเตอร์ http://notebookspec.com/PCspec?pw=1


เริ่มกันเลยนะค่ะ


1. อุปกรณ์ที่เราจัดสเปก ราคา 17010 บาท ได้อุปกรณ์ดั้งนี้



2. CPU ที่เลือก



3. เมนบอร์ดที่เลือก


4. แรมที่เลือกใช้


5. VGA ที่เลือกใช้

6. HDD ที่เลือกใช้




7. SSD ที่เลือกใช้



8. จอภาพที่เลือกใช้



9.เพาเวอร์ซัพพลายที่เลือกใช้

10. เคสที่เลือกใช้


แบบที่ 2. สำหรับ เริ่มต้นเล่นเกมมือใหม่ ในราคา 21,000 


สำหรับวันนี้นะคะ เราก็ขอจบการทำรีวิว การเลือกซื้ออุปกรณ์คอมพิวเตอร์เพียงเท่านี้ ผิดพลาดประการใด ขออภัยด้วยนะคะ แล้วพบกันใหม่โอกาสหน้า สวัสดีคะ